วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพื่อไทยชนะถล่มทลายมาร์คยอมแพ้โดนทิ้งห่างกว่า100 'ปู'จ่อนากยกฯหญิง

yinglukmark.jpg



อภิสิทธิ์' ประกาศรับความปราชัย พร้อมรับตำแหน่งฝ่ายค้านหลังพ่ายเลือกตั้ง ดักคอ 'เพื่อไทย' ไม่ได้รับฉันทามติให้ล้างความผิดใครดังนั้นต้องเร่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชนก่อน แย้มมีคำตอบเรื่องอนาคตตัวเองแล้ว ผลนับคะแนนเผย “เพื่อไทย” นำลิ่ว กวาด ส.ส.ถึงครึ่ง ทิ้งห่าง “ประชาธิปัตย์” ร่วมร้อย กินรวบ ได้ ส.ส.ยกจังหวัดหลายพื้นที่ในเหนือ–อีสาน “ภูมิใจไทย” ไปไม่ถึงฝัน กวาดได้แค่ร่วม 30 ที่นั่ง “ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน” ก็หมอง ได้ ส.ส.ต่ำกว่าเป้า 

นับคะแนนแล้วกว่า80%
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 3 ก.ค. นับคะแนนไปได้แล้วร้อยละ 81.50 จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 30,960,948 คน ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 800,751 บัตร บัตรเสีย 1,381,938 บัตร คะแนนบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เรียงจากพรรคที่มีคะแนนมากที่สุด พรรคเพื่อไทย 11,645,469 คะแนน พรรคประชาธิปัตย์ 9,650,796 คะแนน พรรคภูมิใจไทย 985,527 คะแนน พรรครักประเทศไทย 792,468 คะแนน พรรคชาติไทยพัฒนา 747,554 คะแนน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 353,362 คะแนน พรรครักษ์สันติ 218,374 คะแนน พรรคมาตุภูมิ 207,944 คะแนน
เพื่อไทยกวาด255ที่นั่ง
   
โดยเบื้องต้น พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขต 198 คน บัญชีรายชื่อ 57 คน รวม 255 คน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 117 คน บัญชีรายชื่อ 47 คน รวม 164 คน พรรคภูมิใจไทย ส.ส.แบ่งเขต 30 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 35 คน ชาติไทยพัฒนา ส.ส.แบ่งเขต 17 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 21 คน ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 2 คน รวม 8 คน พลังชล ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน รักประเทศไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน รักษ์สันติ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน กิจสังคม ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน มาตุภูมิ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน พรรคมหาชน ส.ส.สัดส่วน 1 คน พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส.ส.สัดส่วน 1 คน ทั้งนี้ หากมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคที่ได้เสียงข้างมากเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีแนวโน้มสูงที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หมายเลข 1 ของพรรคเพื่อไทย จะได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

เผยว่าที่ส.ส.รายจังหวัด 
   
ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ผู้ที่มีคะแนนนำในแต่ละเขต อาทิ  จ.กำแพงเพชร เขต 1 นายไผ่ ลิกค์  พรรคเพื่อไทย  เขต 2 นายปรีชา มุสิกุล พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายอนันต์ ผลอำนวย เขต 4 นายปริญญา ฤกษ์หร่าย พรรคเพื่อไทย จ.ตาก เขต 1 นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ พรรคประชาธิปัตย์ เขต  2  นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายธนิตพล ไชยนันทน์ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์ได้ยกจังหวัด
   
จ.นครสวรรค์ เขต 1 นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมธรรมชัย พรรคภูมิใจไทย เขต 3 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง พรรคภูมิใจไทย เขต 4 พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์  พรรคเพื่อไทย เขต 6 นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน จ.พิจิตร เขต1 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์  พรรคชาติไทยพัฒนา เขต 2 นายนราพัฒน์  แก้วทอง พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์  พรรคชาติไทยพัฒนา
   
จ.พิษณุโลก เขต 1 นายวรงค์ เดชกิจวิกรม  พรรคประชาธิปัตย์  เขต 2 นายมนต์ชัย  วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคชาติไทยพัฒนา เขต 3 นายจุติ ไกรฤกษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 4 นายนิยม ช่างพินิจ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นายนคร  มาฉิม  พรรคประชาธิปัตย์  จ.เพชรบูรณ์ เขต 1 นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี พรรคเพื่อไทย เขต 2  นายจักรัตน์ พั้วช่วย พรรคเพื่อไทย เขต 3  นายยุพราช บัวอินทร์  พรรคประชาธิปัตย์ เขต 4 นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์  พรรคเพื่อไทย เขต 6 นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย  จ.อุตรดิตถ์  เขต 1 นายกนก ลิ้มตระกูล  พรรคเพื่อไทย  เขต 2 นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ  พรรคเพื่อไทย  และ เขต 3 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย  พรรคเพื่อไทย จ.สุโขทัย เขต 1 นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 นายสัมพันธ์  ตั้งเบญจผล  พรรคประชาธิปัตย์  เขต 3 นายจักรวาล  ชัยวิรัตน์นุกุล  พรรคภูมิใจไทย  เขต 4 นายมนู  พุกประเสริฐ พรรคภูมิใจไทย 

เพื่อไทยกวาดเหนือตอนบน 
   
จ.เชียงราย เขต 1 นายสามารถ แก้วมีชัย พรรคเพื่อไทย  เขต 2 นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ พรรคเพื่อไทย เขต 3 น.ส.วิสาระดี    เตชะธีราวัฒน์ พรรคเพื่อไทย เขต 4 นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน พรรคเพื่อไทย เขต 6 นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย เขต 7 น.ส.ละออง ติยะไพรัช พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ทั้งจังหวัด
    
จ.เชียงใหม่  เขต 1 น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี พรรคเพื่อไทย  เขต 3 น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย เขต 4 นายวิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย เขต 6 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย  เขต 7 นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ พรรคเพื่อไทย เขต 8 นายนพคุณ รัฐไผท พรรคเพื่อไทย เขต 9 นายสุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย เขต 10  นายศรีเรศ โกฏิคำลือ พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด
   
จ.น่าน เขต 1นางสิรินทร รามสูต พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อ เขต 3 นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ พรรคเพื่อไทย  พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด จ.พะเยา เขต 1 น.ส.อรุณี ชำนาญยา พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย เขต 3 นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด  จังหวัดแพร่ เขต 1 นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล พรรคเพื่อไทย เขต 3       นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด

ปชป.ได้แค่แม่ฮ่องสอน
    

จ.ลำปาง เขต 1นายสมโภช สายเทพ พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายวาสิต พยัคฆบุตร พรรคเพื่อไทย เขต 3 นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย เขต 4 นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด จ.ลำพูน เขต 1 นายสงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ นายสมานฉันท์ ชมพูเทพ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 2 นายสถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ นายขยัน วิพรหมชัย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 นายสมบัติ ยะสินธุ์ พรรคประชาธิปัตย์

“เขตแดง”เพื่อไทยก็ยกจังหวัด
    

พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จ.ขอนแก่น มีด้วยกันทั้งหมด 10 เขตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยชนะขาดยกจังหวัดทั้ง 10 เขต  ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ เขต 1  นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร เขต 2 นาย ภูมิ สาระผล เขต 3 นายจตุพร เจริญเชื้อ เขต 4 นางมุกดา พงษ์สมบัติ เขต 5 นายสุชาย ศรีสุรพล เขต 6 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เขต 7 นายนวัธ เตาะเจริญสุข เขต 8 นางดวงแข อรรณพพร เขต 9 ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิชย์ และเขต 10  นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย
   
จ.อุดรธานี พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดที่นั่งส.ส.แบบยกจังหวัด ทั้ง 9 เขตเลือกตั้งเช่นเดียวกัน ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ เขต 1 นายศราวุธ เพชรพนมพร เขต 2 พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ เขต 3 นายอนันต์ ศรีพันธุ์ เขต 4 นายขจิตร ชัยนิคม เขต 5 นายทองดี มนิส สาร เขต 6 นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ เขต 7 นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น เขต 8 นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม และเขต 9 นางเทียบจุฑา ขาวขำ ทั้งนี้ ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีแดง จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี จ.มุกดาหาร จ.หนองคาย จ.ร้อยเอ็ด จ.หนอง บัวลำภู จ.สกลนคร พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดได้ยกจังหวัด ขณะที่ จ.เลย มี 4 เขตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยกวาดไปได้ 3 ที่นั่ง แบ่งให้พรรคภูมิใจไทยเพียง 1 ที่นั่ง ในเขตเลือกตั้งที่ 3

บุรีรัมย์แบ่งคะแนนหืดจับ

   
สำหรับการนับคะแนนหลังการเลือกตั้ง ที่ จ.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ยังคงมีคะแนนนำทิ้งห่างผู้สมัครรายอื่น ๆ ตามความคาดหมาย โดย นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคนำทัพได้พื้นที่ เขต 1 , 2 , 3 และ 9 เป็นผลสำเร็จ ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทย สามารถแบ่ง ส.ส.ในพื้นที่ได้มากพอสมควรโดยได้ส.ส.ในพื้นที่เขต 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 11 , 13 , 14 ส่วน พรรคภูมิใจไทย ยังคงครองพื้นที่ในเขต 10 จากนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รวมทั้ง เขต 12 กับ เขต 15
   
ด้านผลการนับคะแนนของ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพรรคภูมิใจไทย มี 9 เขต ในเขตที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 และ  9 ยังเป็นของพรรคภูมิใจไทย ส่วนเขต  6,  7,  8 มีโอกาสที่ต้องเสียเก้าอี้ให้พรรคเพื่อไทย ส่วนผลการนับคะแนนใน จ.อุบลราชธานี ส.ส.เพื่อไทยกวาดไป 4 เขต ได้แก่ เขต 1, 4 ,5,6,7,9, 10 ขณะที่ประชาธิปัตย์แบ่งพื้นที่ได้ในเขต 2 , 3 , 8 พรรคชาติไทยพัฒนา ในเขตพื้นที่ 11 ด้าน จ.สุรินทร์ ส.ส. เพื่อไทยได้เกือบทั้งหมด 8 เขต เหลือเพียงเขต 1 ซึ่งเป็นของ นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร พรรคภูมิใจไทย

พลังชลกวาดเกือบเกลี้ยง
   
ส่วนในเขตภาคตะวันออก จ.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ กวาดยกจังหวัด เขต 1 นายสาธิต ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 นายบัญญัติ เจตนจันทร์ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 3 นายธารา ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์ เขต4 นายวิชัย ล้ำสุทธิ พรรคประชาธิปัตย์ จ.ฉะเชิงเทรา เขต 1 นายบุญเลิศ ไพรินทร์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 นายสมชัย อัศวชัยโสภณ พรรคเพื่อไทย  เขต 3 นายรส มะลิผล พรรคเพื่อไทย เขต 4 พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์ 
   
จ.ชลบุรี พรรคพลังชล คว้าได้ 6 จาก 8 เก้าอี้ที่ เขต1 นายสุชาติ ชมกลิ่น พรรคพลังชล เขต 2 นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ พรรคพลังชล เขต 3 นายรณเทพ อนุวัฒน์ พรรคพลังชล เขต4 นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 5 นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา พรรคพลังชล เขต 6 นางสุกุมล คุณปลื้ม พรรคพลังชล เขต7 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ พรรคพลังชล เขต8 พล.ร.อ. สุรพล จันทน์แดง พรรคเพื่อไทย

ตราด-จันทบุรีปชป.เหนียว
   
ขณะที่ จ.จันทบุรี และตราด พรรคประชาธิปัตย์กวาดยกทั้ง 2 จังหวัด โดย จ.จันทบุรี เขต 1 นายธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 2 นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ จ.ตราด เขต 1 นาย   ธีระ สลักเพชร พรรคประชาธิปัตย์ จ.ปราจีนบุรี เขต 1 นายอำนาจ วิลาวัลย์ พรรคภูมิใจไทย เขต 2 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พรรคชาติไทยพัฒนา เขต 3 นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย ขณะที่ จ.สระแก้ว ยังเป็นของตระกูล เทียนทอง ยกจังหวัด เขต 1 นายฐานิสร์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย เขต 2 น.ส.  ตรีนุช เทียนทอง พรรคเพื่อไทย เขต 3 นาย สรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
   
จ.นครนายก เขต 1 วุฒิชัย กิติธเนศวร พรรคภูมิใจไทย จ.สมุทรปราการ เขต 1 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ พรรคเพื่อไทย เขต 2 นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย พรรคเพื่อไทย เขต 3 นางอนุสรา ยังตรง พรรคเพื่อไทย เขต 4 นายวรชัย เหมะ พรรคเพื่อไทย เขต 5 นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์  พรรคเพื่อไทย เขต 6 น.ส.เรวดี รัศมิทัต พรรคภูมิใจไทย เขต 7 นายประชา ประสพดี พรรคเพื่อไทย

ใต้แชมป์เก่ากินรวบ 
   
สำหรับผลการนับคะแนนไม่เป็นทางการในภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์สามารถกวาดที่นั่งมาได้ยกจังหวัดในหลายจังหวัด ได้แก่ สงขลา เขต 1 นายเจือ ราชสีห์ เขต 2 นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ เขต 3  นายวิรัตน์ กัลยาศิริ  32,963 คะแนน  เขต 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว  เขต 5  นาย ประพร เอกอุรุ  เขต 6  นายถาวร เสนเนียม เขต 7  นายศิริโชค โสภา  และเขต 8  พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ จ.พัทลุง เขต 1  น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร เขต 2 นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ  เขต 3  นายนริศ ขำนุรักษ์  จ.ตรัง เขต 1 นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เขต 2 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เขต 3  นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ เขต 4 นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล จ. สตูล เขต 1 นายอสิ มะหะมัดยังกี เขต 2 นายฮอซาลี ม่าเหร็ม พรรคประชาธิปัตย์มี จ.ยะลา ซึ่งมีอยู่ 3 เขต เขต 1 นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 2 นายอับดุลการิม เด็งระกีนา พรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายณรงค์  ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์
   
จ.ปัตตานี เขต 1 นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 นายอิสมาแอล เบญ อิบรอฮีม  จากพรรคประชาธิปัตย์ เขต 3  นายนิมุคตาร์ วาบา จากพรรคภูมิใจไทย เขต 4 นายมุข สุไลมาน จากพรรคมาตุภูมิ จ.นราธิวาส เขต 1นายกูอาเซ็ม กูจินามิง จากพรรคประชา ธิปัตย์ เขต 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ จากพรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 นายนัจมุดดีน อูมา  ของพรรคมาตุภูมิ เขต 4 นายเจะอามิง โตะตาหยง จากพรรคประชาธิปัตย์

กทม.พลิกโพลเพื่อไทยพ่าย

   
ในส่วน กทม.คาดว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 22 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็น เขต 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 น.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์   เขต 3 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์ เขต 4 นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์ เขต 5 น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 7 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พรรคประชาธิปัตย์  เขต 8 นายสิงห์ทอง บัวชุม พรรคเพื่อไทย เขต 9 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์ เขต 10 นายชื่นชอบ คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์ เขต 11  นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย เขต 12  นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย เขต 13 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครธรรพ พรรคเพื่อไทย เขต 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย เขต 15 นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์ เขต 16 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย เขต 17 นายวิชาญ มีนชัยนันท์  พรรคเพื่อไทย เขต 18 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย เขต 19 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย เขต 20 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย เขต 21 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
   
เขต 22 นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์ เขต 23 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 24 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 25 นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์ เขต 26 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 27 นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 28 พ.ต.อ.สามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 29 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ เขต 30 นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์ เขต 31 นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ พรรคประชา ธิปัตย์ เขต 32 นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์ และเขต 33 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์

“ปู”แถลงขอบคุณ

   
ต่อมาเวลา 19.45 น. ที่พรรคเพื่อไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนกว่า 100 ชีวิต  โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า  ขอขอบคุณพี่น้องประชาชน ที่ตลอด 40 วันที่ผ่านมา ให้การต้อนรับและสนับสนุนอย่างอบอุ่น รวมถึงตอบรับเรื่องนโยบายของตนและพรรคเพื่อไทยเสมอมา จึงถือโอกาสนี้ขอขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่มอบให้กับพรรคเพื่อไทย และขอบคุณสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศที่ได้ติดตามและนำเสนอข่าวตลอด 40 กว่าวัน   อย่างทั่วถึง และต้องถือโอกาสนี้ขอบคุณนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทุกพรรคการเมืองที่ทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งผ่านไปด้วยดี เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย อย่างไรก็ตามตนและพรรคเพื่อไทยคงต้องรอผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก่อน

ขอนำชาติสู่ปรองดอง
   
“ดิฉันและพรรคเพื่อไทยยืนยันที่จะทำทุกนโยบายที่ได้มีการนำเสนอกับประชาชนอย่างเต็มที่ตามที่ได้นำเสนอไว้ จะไม่ทำให้พี่น้องประชาชนต้องผิดหวัง จริง ๆ ต้องเรียนว่าวันนี้ไม่อยากบอกว่าเพื่อไทยชนะ จริง ๆ วันนี้พี่น้องประชาชนต่างหากที่ให้โอกาสดิฉัน และพรรคเพื่อไทยให้เข้ามาทำงานรับใช้พี่น้องประชาชน และต้องเรียนว่าภาระข้างหน้ายังมีอีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจ และการที่จะทำให้ประเทศก้าวไปสู่ความสามัคคีปรองดอง รวมถึงการพัฒนาแผนงานเพื่อความก้าวหน้าและอนาคตของประเทศ ซึ่งยังเป็นภาระหน้าที่ที่ดิฉันต้องทำ วันนี้เพิ่งเริ่มต้น คงต้องรอผลจากการประกาศผลอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามเสียงของประชาชนที่ให้โอกาสดิฉัน ยืนยันว่าดิฉันจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดด้วยหัวใจ และอุทิศไว้เพื่อประเทศและประชาชน จึงขอโอกาสดิฉันได้พิสูจน์” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

“มาร์ค”ขอยอมรับความพ่ายแพ้

   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวภายหลังการนับคะแนนเลือกตั้งผ่านไประยะหนึ่ง โดยนายอภิสิทธิ์มีสีหน้าเรียบเฉย ก่อนจะแถลงว่า  ขอขอบคุณประชาชนคนไทยทุกคนที่ไปใช้สิทธิในวันนี้ และจากผลเลือกตั้งที่ออกมาขณะนี้ คงเป็นที่ชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ยอมรับความพ่ายแพ้ และขอแสดงความยินดีกับพรรคเพื่อไทยที่จะได้จัดตั้งรัฐบาล และยินดีกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้สุภาพสตรีสามารถที่จะดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารที่สูงสุดได้ จากนี้ไปตนอยากเห็นความสามัคคีปรองดองขึ้นในสังคม และต้องการเห็นรัฐบาลชุดใหม่เดินหน้าทำตามนโยบายที่เป็นคำมั่นสัญญากับประชาชนทั้งประเทศ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า เราจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภาอย่างสร้างสรรค์ และพร้อมให้ความร่วมมือ  ทุก ๆเรื่องที่ไม่สร้างความเสียหายกับบ้านเมือง โดยเฉพาะการทำอะไรที่กระทบนิติรัฐนิติธรรม

คาดสละเก้าอี้หัวหน้าพรรค
   
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ขอย้ำอีกครั้งว่าแม้ว่าพรรคเพื่อไทยจะมีส.ส.มากที่สุดในสภาแต่คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตนถือว่าประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติในการที่จะไปล้างความผิดนิรโทษกรรมให้กับใคร และพรรคประชาธิปัตย์ยังยืนยันในฐานะฝ่ายค้านที่จะคัดค้านเรื่องนี้อย่างเต็มที่ต่อไป ทั้งนี้ ตนอยากจะขอวิงวอนให้พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เดินหน้าแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ไม่เอาเรื่องเหล่านี้มาทำลายบรรยากาศและอนาคตของประเทศไทย
   
“ส่วนอนาคตตัวผมเองวันนี้ยังไม่ขอพูดอะไรหรือตอบคำถามอะไร เรียนว่าผมจะรอดูผลการเลือกตั้งที่เป็นตัวเลขทางการให้เรียบร้อนก่อน แต่ว่ามีคำตอบอยู่ในใจแล้ว ขอขอบคุณครับ”นายอภิสิทธิ์ กล่าวก่อนที่จะชู 2 มือขึ้นเป็นสัญลักษณ์เบอร์ 10 ให้กองเชียร์ และได้รับเสียงปรบมือโห่ร้องให้กำลังใจ จากนั้น นายอภิสิทธิ์ขึ้นรถกลับบ้านพักทันที โดยไม่ยอมตอบคำถามใด ๆ บรรยากาศที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น เจ้าหน้าที่พรรคและทีมงานหาเสียงของพรรค ต่างกอดคอกันร้องไห้ ขณะที่บรรดาแกนนำพรรคได้ทยอยเดินทางออกจากพรรคทันที ทั้งนี้ มีการประเมินว่าสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ได้ตัดสินอยู่ในใจแล้วนั้น น่าจะเป็นการแสดงความรับผิดชอบจากการที่พรรคได้ส.ส.น้อยลงจากเดิม ด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ถึงที่สุดแล้ว เมื่อมีการประชุมเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์น่าจะได้รับคะแนนสนับสนุนให้ได้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง.

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมภายในห้อง หกทับหก

ทำพานไหว้ครู

พานไหว้ครู

กิจกรรมเดินรณรงค์สวมหมวกกันน้อค

กิจกรรมเดินรณรงค์หมวกกันน้อค

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทดสอบการสร้างบล้อก

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2554
โรงเรียนเรียนภูเขียว
เวลา 9.26 น.
ความรู้สึกดีค่ะในห้องนี้เย็นสบายมีความสุขกว่าวิชาอื่นๆ
ได้สร้างบล้อกเป็นของตัวเอง:)